การทำรากเทียม

รายละเอียด

การทำรากเทียม

เป็นที่ทราบกันดีว่าการทำรากเทียมแบบเดิมนั้น คนไข้จำเป็นต้องมาพบทันตแพทย์ 4 ครั้ง เป็นอย่างน้อย เพื่อผ่าตัดฝังตัวรากเทียม ต่อเดือยรองรับครอบฟันและใส่ครอบฟันโดยใช้เวลาเกือบ 5 เดือนแต่..วันนี้ คนไข้สามารถมีรากเทียมพร้อมใช้(รากเทียม+เดือยรองรับครอบฟัน+ครอบฟันชั่วคราว)

ได้ภายใน 1 ชั่วโมงโดยประมาณ*

ต่อจากนี้การฝังรากเทียมจะไม่ยุ่งยากอีกต่อไป คนไข้จะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้นเพราะขั้นตอนการฝังสามารถทำได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากได้มีการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อลดขั้นตอนของการผ่าตัด ทั้งนี้เพื่อให้ตรงต่อความต้องการของคนไข้ในยุคปัจจุบัน

เมื่อฟันแท้หายไป เนื่องจากถูกถอนไปหรือเนื่องมาจากอุบัติเหตุหรือฟันแท้หายไปตั้งแต่เกิด(CONGINITAL MISSING)เราสามารถทดแทนส่วนที่เป็นรากของฟันด้วยวัสดุ ไททาเนียม ซึ่งได้รับการพิสูจน์ และรับรองแล้วว่าไม่เป็นอันตรายจะต่อส่วนที่จะเป็นตัวฟันเข้ากับรากฟันซึ่งถูกฝังเข้าไปในขากรรไกรบนหรือล่าง หลังจากนั้นคนไข้จะสามารถใช้ฟันรากเทียมบดเคี้ยวอาหาร, พูดและยิ้ม ได้เหมือนกับฟันปรกติ

จากการทดลองและค้นคว้าพบว่า รากเทียมจะสามารถใช้งานได้อย่างดีเมื่อฝังในกระดูกขากรรไกรที่แน่นและแข็งแรง นอกจากนี้ยังจะต้องอาศัยเหงือกที่แข็งแรง ไม่เป็นโรคเหงือกอักเสบอีกดัวย เพราะฉะนั้นอาจพูดได้ว่ารากเทียมที่จะประสบความสำเร็จต้องอาศัยเหงือก และ กระดูกที่แข็งแรงรอบๆ รากเทียมนั้น

รากเทียมประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญคือ

  • รากเทียม (Fixture) ซึ่งทำมาจากโลหะไทเทเนียม (Titanium) ซึ่งมีลักษณะคล้ายรากฟันและจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ซึ่งสามารถยึดติดได้อย่างแนบแน่นโดยไม่ทำให้เนื้อเยื่ออักเสบและไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆเดือยรองรับ
  • ครอบฟัน (Abutment) เมื่อฝังรากเทียมบนกระดูกขากรรไกรจะใช้เวลาประมาณ 4-6 เดือน เพื่อให้รากเทียมยึดติดกับกระดูกขากรรไกรได้ดี หลังจากนั้นจึงจะใส่เดือยรองรับครอบฟัน ลงบนรากเทียม เพื่อใช้เป็นที่รองรับครอบฟันต่อไป
  • ครอบฟัน (crown) เป็นส่วนที่อยู่ด้านบนของเหงือก ซึ่งจะทำมาจากเซรามิค (porcelain) มีรูปร่าง ลักษณะและสีเหมือนฟันธรรมชาติ


สภาพที่ไม่สามารถฝังรากเทียมได้

ถ้าท่านมีโรคหรือสภาวะต่อไปนี้ รากเทียมอาจจะไม่เหมาะกับท่าน

1. UNCONTROLLED DISEASE โรคที่มีผลต่อการซ่อมแซม หรือการหายของแผลในบุคคลที่ป่วยเป็นโรคชนิดนี้ได้แก่ ผู้ป่วยเบาหวานซึ่งไม่สามารถควบคุมได้ (UNCONTROLLED DIABETES) การหายของแผลจะเป็นไปอย่างช้าๆทำให้รากเทียมอาจจะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ส่วนในคนไข้เบาหวานที่สามารถควบคุมได้โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์ ก็สามารถที่จะทำได้

โรคอีกชนิดหนึ่งได้แก่ โรคเลือด (LEUKEMIA) หรือโรคที่มีความผิดปรกติของต่อม parathyroid สูง (HYPERPARATHYROIDISM)หรือในบุคคลที่ได้รับการฉายแสงในการรักษาโรคมะเร็ง ในคนไข้พวกนี้จะต้องได้รับความยินยอมจากแพทย์ก่อน ว่าอยู่ในสภาพที่จะสามารถทำรากเทียมได้หรือไม่

2. PREGNANCY ในคนไข้ที่กำลังตั้งครรภ์ ควรรอให้คลอดเสียก่อน

3. PSYCHIATRIC OR EMOTIONAL TREATMENT คนไข้โรคจิตหรือผู้ที่ได้รับการบำบัดทางด้านจิตใจอยู่เป็นผู้ที่มีความผิดปรกติของจิตใจอยู่ ตัวอย่างเช่น พวกที่มีความเครียดเรื้อรัง (CHRONIC DEPRESSION) หรือพวกที่มีการเปลี่ยนแปลงทางบุคลิกภาพ ควรหลีกเลี่ยงการทำรากเทียมก่อน เพราะอาจเพิ่มสภาวะเครียดให้คนไข้ชนิดนี้ได้

4. LACK OF MUSCULAR COORDINATION TO MANAGE ORAL HYGEINE PROCEDURES คนไข้ที่ขาดความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการทำความสะอาดในช่องปาก ในการที่จะทำให้เหงือกและฟันรอบๆ implants มีสภาพที่ดี คนไข้ต้องใส่ใจดูแลเรื่องการทำความสะอาดหมายถึง คนไข้สามารถใช้แปรงสีฟัน ไหมขัดฟัน หรืออุปกรณ์ทำความสะอาดที่จะขจัดคราบ Plaque และอาหารได้ ในบุคคลที่เป็นโรคไขข้ออักเสบชนิดรุนแรง(Severe Arthritis) หรือคนไข้ที่พิการ (Handicap) อาจจะมีปัญหาเรื่องการทำความสะอาดได้

การฝังรากเทียมจำเป็นต่อคุณหรือไม่?

1. คุณมีฟันขาดหายไป หนึ่งซี่ หรือมากกว่า และมีปัญหาในแง่ความสวยงาม ไม่กล้ายิ้ม ไม่กล้าพูดเพราะอายที่ฟันหายไป

2. คุณมีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว ไม่สามารถเคี้ยวได้ทั้งสองข้าง เพราะข้างหนึ่งไม่มีฟันให้เคี้ยว

3. คุณมีปัญหาเรื่องฟันปลอมหลวม กระดกหรือมีอาการอาเจียนเนื่องจากฟันปลอมที่ใส่อยู่ใหญ่เกินไป กดเหงือกทำให้เจ็บ หรือทำให้คุณรู้สึกรำคาญฟันปลอมที่ใส่อยู่ เนื่องจากไม่สามารถพูดได้ชัดเจนเหมือนเดิมและยังคอยตกและแตกหักเป็นประจำ

ถ้าคุณตอบว่าใช่ในข้อใดข้อหนึ่ง ลองโทรมาปรึกษากับเราสิคะ ทางศูนย์ทันตกรรมรัชดายินดีให้คำปรึกษาค่ะ

( * หมายเหตุ : ในคนไข้บางรายอาจมีข้อจำกัด ซึ่งอาจนอกเหนือขั้นตอนนี้)

คุณอาจจะชอบ

  • รากเทียมขนาดเล็ก