ผ่าฟันคุด
รายละเอียด
ผ่าฟันคุด, ถอนฟันคุด
เราต่างทราบกันดีว่า "ฟัน" เป็นอวัยวะสำคัญที่ทำหน้าที่บดเคี้ยวอาหาร อีกทั้งยังเสริมส่งบุคลิกภาพของเราให้ชวนมองอีกด้วย แต่ปัญหาเกี่ยวกับความผิดปกติของฟันที่พบได้บ่อย นอกจากฟันผุ ฟันเกแล้ว ยังมีอาการฟันคุดที่นับว่าเป็นปัญหาใหญ่ เพราะนอกจากจะทำให้จัดเรียงผิดรูปแล้ว ยังทำให้เกิดความเจ็บปวดทรมานเป็นอย่างมาก
ฟันคุดคืออะไร
ฟันคุด คือ ฟันจมอยู่ในกระดูกขากรรไกรไม่สามารถขึ้นได้ตามปกติ ตัวฟันอาจโผล่ขึ้นมาเป็นบางส่วน ซึ่งส่วนของตัวฟันจะไม่โผล่ขึ้นมาในช่องปากเลย ซึ่งจะต้องแนะนำให้เอาออกโดยจะมีข้อยกเว้นเล็กน้อย คือ ในผู้ป่วยที่มีสภาพร่างกายทั่ว ๆ ไปไม่ดี ในขณะนั้นเราจะไม่แนะนำให้ถอนออก หรือในผู้ป่วยสูงอายุและฟันคุดหรือชนนั้น ไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างใด เราพบโดยบังเอิญอาจไม่จำเป็นต้องถอนออก บางครั้งในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย แต่จำเป็นต้องถอนฟันหมดทั้งปากเนื่องจากฟันผุหรือเป็นโรคปริทันต์อย่างรุนแรง แต่พบว่ามีฟันกรามซี่สุดท้ายยังไม่ขึ้น ควรเก็บฟันนั้นไว้ก่อนสำหรับช่วยในการใส่ฟันปลอม หากพบว่าฟันเหล่านี้ขัดขวางการใส่ฟันปลอมจึงจะถอนออก
ผลแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นขณะผ่าฟันคุด
- เลือดออกมากผิดปกติ คือ อาจเกิดจากผู้ป่วยมีอัตราการไหล และอัตราการหยุดของเลือดผิดปกติ ในการรักษาจะให้ Prophylactic therapy ก่อนทำเพื่อเตรียมผู้ป่วยให้พร้อมรับการรักษา
- อันตรายต่อเส้นประสาท Mandibular ซึ่งจะเกิดจากการที่ฟันนั้นอยู่ชิดกับ Mandibular canal ทำให้ผู้ป่วยชาบริเวณที่เส้นประสาทนี้ไปเลี้ยงซึ่งได้แก่ริมฝีปากล่างและคาง
- อันตรายต่อเส้นประสาท Lingual จะเกิดเมื่อฟันคุดเกิดอยู่ชิดทางด้านลิ้นใต้ Mylo-hyoid ridge
- ปลายรากฟันหัก ถ้ารากนั้นอยู่ชิดกับ Mandibular canal หรือ Maxillary sinus ก็อาจดันเข้าไปใน Canal หรือ Sinus ได้
- ฟันข้างเคียงอาจได้รับการกระทบกระเทือนจนโยกหรือหลุด
- เครื่องมือทำฟัน เช่นหัว Bur หักฝังเข้าในกระดูก หรือปลาย Elevator หักค้างฝังอยู่ในกระดูก
- ฟันหลุดเข้าคอผู้ป่วย ส่วนใหญ่จะเกิดในรายที่ทำโดยการดมยาสลบแล้วไม่ได้ Pack คอก่อน
- Alveolar process หักทำให้เลือดออกมาก ต้องพยายามห้ามเลือดและเย็บให้เรียบร้อย
- Maxillary tuberosity หักทำให้เลือดออกมาก ต้องพยายามเอาส่วนที่หักออก และเย็บแผลให้เรียบร้อย
- ขากรรไกรล่างหัก ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุเพราะฟันมักจะมี Ankylosis และเปราะ
- การดันฟันเข้าใน Maxillary sinus มักเกิดกับรายที่ฟันคุดชิดกับ Sinus เมื่อเกิดขึ้นต้องทำการเปิดแบบ Caldwell-Luc เพื่อเอาฟันออกทาง Canine fossa
ฟันคุดทำไมจึงบวม
การบวมบริเวณใบหน้าที่คอหรือที่พื้นของปากผู้ป่วยทําให้กลืนลำบาก มีไข้สูง แสดงว่ามีการติดเชื้อ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ผู้ป่วยมีการติดเชื้อมาตั้งแต่ก่อนทำแล้ว ขณะทำการรักษาอาจทำให้เชื้อจุลินทรีย์กระจายข้าไป และบางครั้งอาจเกิดจาการที่ผู้ป่วยรักษาความสะอาดภายหลังการผ่าตัดไม่ดีพอจึงจำเป็นต้องเจาะหนงออก และล้างแผลให้สะอาดแล้วจึงใส่ท่อระบายหนองถ้าจำเป็น รวมทั้งให้ยา Antibiotic ร่วมด้วย
ข้อควรปฏิบัติภายหลังการถอนฟัน
- กัดผ้ากอซนาน 1 - 2 ชั่วโมง ไม่ควรบ้วนน้ำลายภายหลังการผ่าตัด 1 - 2 ชั่วโมง หาก 1 - 2 ชั่วโมงไปแล้วยังมีเลือดซึมออกมาอีก ให้คายผ้ากอซแล้วกัดแผ่นใหม่ได้
- ใช้น้ำแข็งประคบข้าง ๆ แก้มข้างที่ผ่าตัด หรือถอนฟัน
- รับประทานอาหารอ่อน ๆ และทานยาตามแพทย์สั่ง
- แปรงฟันได้ตามปกติ
- ตัดไหมได้ภายหลังการผ่าตัด 7 วัน ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อน ควรรีบกลับมาพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอวันนัด
ข้อห้ามที่อาจมีผลทำให้เลือดไหลไม่หยุด
- ห้ามดูด หรือเอาวัสดุใด ๆ เขี่ยแผล
- ห้ามบ้วนน้ำลายภายหลังการผ่าตัดหรือถอนฟันภายใน 1-2 ชั่วโมง
- ห้ามกินหมาก ห้ามสูบบุหรี่ และดื่มสุราภายในระยะเวลา 24 ชั่วโมง
- ห้ามออกกำลังกายภายใน 24 ชั่วโมง
ฟัน ถือเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญยิ่ง เราจึงควรหมั่นรักษาความสะอาด และไปพบแพทย์เพื่อตรวจสภาพฟันอยู่เสมอ เพื่อที่หากพบความผิดปกติแพทย์จะสามารถให้การรักษาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ