เกลารากฟัน

รายละเอียด

โรคปริทันต์อักเสบ

โรคปริทันต์ หมายถึง โรคที่เกิดขึ้นกับอวัยวะรอบๆฟัน ได้แก่ เหงือกเอ็นยึดปริทันต์และกระดูกเบ้าฟันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ โรคเหงือก และ โรคปริทันต์อักเสบ โดยส่วนใหญ่โรคนี้จะเป็นอย่างช้าๆ โรคปริทันต์อักเสบ   จะมีการทำลายขอกระดูกเบ้าฟันและเนื้อเยื่อรอบรากฟัน ทำให้เหงือกบวมแดง มีเลือดออกตามขอบเหงือก และอาจมีหนอง เหงือกไม่กระชับกับรากฟัน จนมีร่องเหงือกลึกขึ้น เรียกร่องลึกปริทันต์ หากมีการทำลายรุนแรงจะมีการโยกของฟันร่วมด้วย สาเหตุเกิดจากเชื้อจุลินทรีย์จำนวนหลายชนิด สำหรับหินน้ำลาย (หินปูน) นั้นเป็นปัจจัยเสริมโดยหินน้ำลาย จะเป็นที่ยึดเกาะของคราบจุลินทรีย์ และยังมีปัจจัยเสียงที่ทำให้เกิดโรคปริทันต์ เช่น การสูบบุหรีและโรคเบาหวาน เป็นต้น

การป้องกันการเกิดโรคปริทันต์อักเสบ ด้วยการดูแลอนามัยช่องปากโดยการแปรงฟันร่วมกับการทำความสะอาดอื่นๆ เช่น แปรงซอกฟัน ไหมขัดฟัน อย่างน้อยวันล่ะ 2 ครั้ง เพื่อกำจัดคราบจุลินทรีย์ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของโรคปริทันต์ พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน เพื่อรับการตรวจสภาพเหงือกและขูดหินน้ำลาย ขัดฟัน


เกลารากฟัน

อาการปวดฟันเกิดได้จากหลายๆ สาเหตุ ที่พบบ่อยมีดังนี้

  • ฟันผุหรือหักร้าวจนถึงโพรงประสาทฟัน มักทำให้ปวดมาก ปวดจนนอนไม่หลับ การรักษา โดยการรักษารากฟันหรือถอนฟันชี่นั้นออกไป
  • ฟันผุไม่ถึงประสาทฟัน แต่มีอาหารไปอัดอยู่แล้วไปกดโดนเหงือกทำให้ปวด อาการปวดแบบนี้จะปวดเมื่อเวลารับประทานอาหาร แล้วเศษอาหารไปติดที่ซอกฟัน ทำให้ปวดตื้อๆ อยู่นานๆ
  • โรคเหงือก (periodontal disease) ซึ่งมักมีสาเหตุมาจากคราบหินปูนนั่นเอง ทำให้เหงือกอักเสบ บวม และปวดได้ บางครั้งอาจมีหนองเกิดร่วมด้วย การรักษา โดยการขูดหินปูน เกลารากฟัน และอาจจำเป็นต้องมีการรักษาอื่นร่วมด้วย ถ้าเป็นมากอาจต้องถอนฟันออกไป
  • การสบฟันผิดปกติ (malocclusion) มักจะปวดเมื่อเคี้ยวอาหารหรือขณะฟันกระทบกัน การรักษาทำได้โดยการกรอแก้ไขการสบฟัน (occlusal adjustment) และแก้ไขสาเหตุที่ทำให้ฟันสบกันผิดปกติ เช่น อาจต้องใส่ฟันหรือจัดฟัน
  • โรคทางระบบประสาท (trigeminal neuralgia) มักจะปวดฟันมากกว่า 1 ซี่ร่วมกับ การปวดเหงือกและผิวหนังบริเวณแก้ม การรักษา โดยการรับประทานยา บางครั้งอาจมีการผ่าตัดร่วมด้วย
  • สาเหตุอื่นๆ เช่น ฟันที่เคยรักษารากฟันมานานแล้ว เป็นต้น

เมื่อมีอาการปวดฟันเกิดขึ้น แนะนำให้รับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ห้ามนำยาแก้ปวดทุกชนิดไปแปะหรืออัดไว้ตรงฟันที่ปวด เพราะอาจทำให้เกิดเป็นแผลพุพองได้ หลังจากนั้นก็ให้มาพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและแก้ไข ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้แม้ว่า จะหายปวดไปแล้วก็ตาม เพราะการรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ผลการรักษาย่อมประสบความสำเร็จมากกว่า